ระบบการเข้าถึงวารสารออนไลน์ของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ JFK Journals: Online Shelf

ID 2414
รายละเอียด Idea Suggestion
การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ และการให้บริการสารสนเทศเป็นหน้าที่หลักของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ซึ่งวารสารวิชาการเป็นทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนึ่งของหอสมุดฯ ที่ยังคงให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์และพันธกิจของหอสมุดฯ ว่าด้วยการมุ่งบริการสารสนเทศผ่านระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ และพัฒนาผู้ใช้ให้มีศักยภาพในการใช้งานทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันหน่วยงานผลิตวารสารวิชาการได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตของวารสาร จากฉบับพิมพ์เปลี่ยนเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีบริการวารสารวิชาการในรูปแบบออนไลน์มากขึ้น กอปรกับหอสมุดฯ มีแผนในการลดงบประมาณการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ทำให้ฝ่ายจัดหาฯ ลดการบอกรับและต่ออายุวารสารที่ให้บริการในรูปอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตามหอสมุดฯ ยังมีความจำเป็นในการให้บริการวารสารวิชาการตามหลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย ทำให้หอสมุดฯ ไม่สามารถยกเลิกการให้บริการวารสารแก่อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาได้
จากปัญหาดังกล่าวจึงมีแนวคิดในการออกแบบเครื่องมือการให้บริการวารสารวิชาการในรูปแบบออนไลน์ โดยการรวบรวมรายชื่อวารสารที่หอสมุดฯ บอกรับ และพัฒนาระบบการเข้าถึงวารสารออนไลน์ของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ JFK Journals: Online Shelf ขึ้นมา เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา พร้อมทั้งช่วยบรรณารักษ์ในการตรวจสอบจำนวนวารสารเฉพาะสาขาวิชาตามความจำเป็นของแต่ละสาขาวิชาที่มีการเปิดสอน ว่ามีวารสารเพียงพอหรือไม่ และเพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ของหอสมุดฯ ในการสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยและมหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ต่อไป
วิธีการดำเนินการ
ระบบการเข้าถึงวารสารออนไลน์ของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ JFK Journals: Online Shelf มีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
1. วิเคราะห์ความเป็นไปได้ โดยศึกษาจากปัญหา และความต้องการของผู้ใช้บริการจากการประชุมระดมความคิด และศึกษาเอกสารงานวิจัย เพื่อดูพฤติกรรมการใช้บริการของผู้ใช้บริการในยุคปัจจุบัน รวมถึงศึกษาแหล่งที่ให้บริการการสืบค้นวารสารวิชาการออนไลน์
2. วางแผนทำงานร่วมกับนักวิชาคอมพิวเตอร์ เพื่อทำความเข้าใจในวัตถุประสงค์ที่ต้องการพัฒนาระบบ ความต้องการใช้ และสิ่งที่ต้องการนำเสนอให้กับผู้ใช้บริการ
3. ออกแบบและพัฒนาระบบ
3.1 วิเคราะห์และสรุปความต้องการของบรรณารักษ์ผู้ใช้งานระบบ
3.2 เลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับความต้องการของระบบ ประกอบด้วย
3.2.1 HTML ใช้ในการกำหนดโครงสร้างเว็บไซต์
3.2.2 ใช้ภาษา PHP และ Javascript
3.2.3 ระบบจัดการฐานข้อมูล MySQL Database
3.3 ออกแบบฐานข้อมูล ดำเนินการออกแบบระบบโดยแบ่งหน้าเว็บไซต์ออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนของผู้ใช้งานทั่วไป และส่วนของผู้ดูแลระบบ ดังนี้
3.3.1 ส่วนของผู้ใช้งาน ประกอบด้วยฟังก์ชั่นวารสารที่สามารถค้นหาข้อมูล ซึ่งผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลจากชื่อวารสาร, เลข ISSN และเลข Local call หรือใช้คำค้นในการค้นหาข้อมูล โดยการค้นหาสามารถจำกัดคณะ หรือสาขาที่ต้องการได้
4. ทดสอบระบบ โดยบรรณารักษ์ผู้ปฏิบัติงานนำข้อมูลวารสาร, คณะ/สำนัก และสาขา/ฝ่าย เข้าระบบเพื่อทดสอบการใช้งานทั้งส่วนของผู้ใช้งานทั่วไป และส่วนของบรรณารักษ์ผู้ปฏิบัติงาน โดยการทดสอบในส่วนของผู้ใช้งานทั่วไปบางส่วน อาทิเช่น ระบบไม่แสดงภาพตัวอย่างของวารสาร ระบบไม่สามารถไปยังที่อยู่ของวารสาร ทำให้ระบบไม่สามารถแสดงผลลัพธ์ตามที่ต้องการได้ ในส่วนของการทดสอบระบบของบรรณารักษ์ผู้ปฏิบัติงานนั้นไม่พบปัญหาในการใช้งาน แต่มีเพิ่มเติมส่วนของฟังก์ชั่นการนับจำนวนการใช้งาน และฟังก์ชั่นการรายงาน
5. เปิดใช้งานระบบ หลังจากการปรับปรุงแก้ไขส่วนต่างๆ ของระบบแล้ว ได้มีการประชาสัมพันธ์การใช้งานระบบผ่านอีเมลมหาวิทยาลัยฯ และเพจเฟสบุคของหอสมุดฯ โดยเริ่มเปิดใช้งานจริงผ่านเว็บไซต์ของหอสมุดฯ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564
6. ประเมินผลการใช้งาน โดยใช้แบบสอบถามในการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริกา
7. ระยะเวลาดำเนินผล
8. สถานที่จัด
หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
9. กลุ่มเป้าหมาย
อาจารย์ นักศึกษา บุคลากร ผู้ใช้บริการทั่วไป
10. งบประมาณ
ในการดำเนินการจัดทำระบบการเข้าถึงวารสารออนไลน์ของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ JFK Journals: Online Shelf นั้น ไม่ต้องใช้งบประมาณใดๆ ทั้งสิ้น
ระบบการเข้าถึงวารสารออนไลน์ของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ JFK Journals: Online Shelf เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้บริการหอสมุดฯ และเพื่อสนับสนุนการทำงานของบรรณารักษ์ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ดังนี้
- อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา สามารถใช้งานวารสารอิเล็กทรอนิกส์ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องเข้ารหัสผ่านใดๆ ในการใช้งาน อีกทั้งยังสามารถเลือกวารสารประจำคณะ และสาขาได้อีกด้วย
- ลดปัญหาการไม่พบของวารสารบนชั้นได้ ส่งผลให้ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อการใช้บริการ
- บรรณารักษ์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการรายงานผลการจัดหา การให้บริการ ต่อผู้บริหาร
- การนำวารสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์มาให้บริการ ส่งผลให้ประหยัดงบประมาณในการจัดหาวารสารจำนวนมาก
เป็นระบบเพื่อการบริการสารสนเทศ