OAR Burns Calories

OAR Burns Calories


Warning: imagepng(/home/httpd/vhost/innovation.oas.psu.ac.th/wp-content/uploads/2016/06/feature_img-670x300.png): failed to open stream: Permission denied in /home/httpd/vhost/innovation.oas.psu.ac.th/wp-includes/class-wp-image-editor.php on line 565
feature_img

ID 313

เสนอโดย กุลวดี ทัพภะ
ตำแหน่ง บรรณารักษ์
ฝ่าย หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้
ปีงบประมาณ
วันที่เผยแพร่

รายละเอียด Idea Suggestion

สภาพปัจจุบัน/ปัญหาที่พบ

สุขภาพที่ดีขึ้นอยู่กับการดูแลตนเอง นอกจากรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อากาศบริสุทธิ์ และจิตใจสบายไม่เครียดแล้ว การออกกำลังกายให้สุขภาพดีนับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง  แต่เนื่องด้วยสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัตน์  และด้วยภาวะเศรษฐกิจที่นับวันจะฝืดเคือง ทำให้ลักษณะการดำเนินชีวิตของบุคลากรของสำนักวิทยบริการต้องใช้เวลาในแต่ละวันเกือบทั้งหมดไปกับการทำงานตั้งแต่เช้าจนค่ำ หลายคนจึงไม่ได้ออกกำลังกายและมองข้ามการออกกำลังกาย ด้วยเหตุผลที่มักจะมีข้อแก้ตัวบ่อยๆ ว่า ไม่มีเวลา ไม่มีสถานที่ จึงเป็นเหตุให้สุขภาพอ่อนแอลงและอาจประสบกับปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ตามมา  เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคมะเร็ง ความเครียด ฯลฯ ผู้รับผิดชอบโครงการได้คำนึงถึงสภาวะสุขภาพที่ดีของบุคลากรจึงได้หันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับการรณรงค์การออกกำลังกายขึ้น ภายใต้โครงการ OAR Burn Calories โดยเล็งเห็นว่าความจริงแล้วไม่จำเป็นต้องใช้เวลามากมาย เพียงแค่วันละ 20-30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ก็พอ ในการออกกำลังกายเพื่อให้เกิดผลดีต่อหัวใจและปอด ไม่ต้องใช้พื้นที่มากมายหรืออุปกรณ์ออกกำลังกายราคาแพง มีเพียงพื้นที่ในการเดินก็พอแล้ว วิธีดีที่สุดคือการเดินเร็วหรือวิ่งเหยาะๆ ในกรณีที่สิ่งแวดล้อมของหมู่บ้านไม่สะดวกหรือเสี่ยงกับอุบัติเหตุ อาจใช้วิธีปั่นจักรยานอยู่กับที่หรือเดินบนสายพานในขณะที่ฟังข่าวหรือดูละคร โทรทัศน์ โดยรณรงค์ให้บุคลากรมีความรู้สึกว่าการออกกำลังกายนั้นเป็นหนึ่งในกิจวัตรประจำวัน และการออกกำลังกายยังเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้วยังช่วยเสริมสร้างให้ร่างกาย แข็งแรง ผ่อนคลายอารมณ์ เสริมสร้างความสามัคคี และที่สำคัญการออกกำลังกายยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว ด้วยความตระหนักถึงประโยชน์และความสำคัญของการออกกำลังกายที่มีต่อสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการ OAR Burn Calories ขึ้น

แนวคิดในการสร้างสรรค์หรือแก้ไขปรับปรุง

10 วันแรก             – เขียนโครงการ และเสนอขออนุมัติโครงการต่อสำนักวิทยบริการ

                10 สัปดาห์            – รวบรวมรายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการ

– หาข้อมูลและประชาสัมพันธ์ด้านสุขภาพ และด้านโภชนาการ

– บันทึกน้ำหนักเริ่มต้นของผู้เข้าร่วมโครงการ

– จัดทำตารางเทียบเคียงการเผาผลาญแคลอรี่ของกีฬาประเภทต่างๆ เพื่อสะดวกแก่บุคลากรในการรายงานผลการออกกำลังกาย

– จัดทำตารางเก็บสถิติ และเก็บสถิติการออกกำลังกายของบุคลากร ระยะเวลา 2 เดือน ได้แก่ เดือนพฤษภาคม และเดือนมิถุนายน

10 เดือน                – บันทึกน้ำหนักหลังสิ้นสุดโครงการ

– ประเมินผลโครงการและประเมินผลสัมฤทธิ์จำนวนแคลอรี่ที่บุคลากรสำนัก   วิทยบริการร่วมกันเผาผลาญได้ทั้งหมด

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความสนใจในการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น และรู้จักใช้เวลาว่างให้

เป็นประโยชน์

  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมีความสามัคคี สามารถบรรลุเป้าหมายการเผาผลาญแคลอรี่ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
การนำ Idea Suggestion สู่การปฏิบัติ สามารถดำเนินการได้โดยทำงานเป็นทีม