“OAIKM” เว็บไซต์การจัดการความรู้แบบอินเทอร์แอคทีฟ

“OAIKM” เว็บไซต์การจัดการความรู้แบบอินเทอร์แอคทีฟ

feature_img[1]

ID 1097

เสนอโดย ณัฐณรงค์ วิทยธาดา
ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
ฝ่าย เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเรียนรู้
ปีงบประมาณ
วันที่เผยแพร่

รายละเอียด Idea Suggestion

สภาพปัจจุบัน/ปัญหาที่พบ

บทนำ

“เว็บไซต์” (website) เป็นสื่อดิจิทัลที่ใช้สื่อสารระหว่างกันในเครือข่ายสังคมออนไลน์
ที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวันอย่างมากมาย ทั้งให้ข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการใช้เขียนเรื่องราวความรู้และประสบการณ์ต่างๆ  ปัจจุบันเว็บไซต์ได้มีการพัฒนาของรูปแบบต่างๆ มากมาย  เว็บไซต์สามารถแสดงรายละเอียดเนื้อหา  ภาพเคลื่อนไหว  แบ่งปันข้อมูล  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่ตนเองต้องการบอกเล่าหรือต้องการถ่ายทอดความรู้ (knowledge  transfer)  สามารถโต้ตอบและมีปฏิสัมพันธ์ (interactive) ระหว่างเว็บไซต์กับผู้ใช้งาน ผู้ใช้งานเว็บไซต์สามารถสมัครสมาชิก ตั้งกระทู้ ตอบคําถาม หรือ การสร้างเนื้อหาที่เป็นของผู้ใช้งานเอง
การจัดการความรู้  (knowledge management ) คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคน
ในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้  รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ   นักทฤษฏีด้านการจัดการความรู้ คือ Nonaka และ Takeuci   ซึ่งมีผลงานที่สำคัญ  คือ the knowledge-creating company ตีพิมพ์ในปี 1995 (สุพิชชา  ธีรอภิศักดิ์กุล, 2553, น.8)  ได้แบ่งความรู้ออกเป็น 2 ประเภท  ได้แก่  1.) ความรู้ซ่อนเร้น (tacit knowledge)  ซึ่งความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ ความคิด พรสวรรค์ ซึ่งอยู่ในบุคคลแต่ละคน  แต่ยังไม่ได้ถูกบันทึกให้เป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง หรือเป็นความรู้ที่สามารถอธิบายได้ เช่น งานศิลปะ งานที่ต้องวัดคุณภาพจาก รูป รส กลิ่น เสียงสัมผัส และ  2.) ความรู้ชัดแจ้ง (explicit knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถจับต้องได้ สามารถถ่ายทอดให้อยู่ในรูปของคำพูด ตัวอักษรและตัวเลขได้ ความรู้ประเภทนี้จึงปรากฏในเอกสาร ตำรา คู่มือปฏิบัติงาน เป็นต้น  การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้  (knowledge  sharing)  หรือการถ่ายทอดความรู้ (knowledge  transfer)  ทั้ง 2 ประเภทที่กล่าวมาแล้วนั้น   สามารถนำมาเผยแพร่แบ่งปันหรือแลกเปลี่ยนกันได้หลายรูปแบบ  ขึ้นอยู่กับความต้องการและวัฒนธรรมองค์กร  ส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีผสมผสานเพื่อผู้ใช้ข้อมูลสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม  เช่น  ระบบทีมข้ามสายงาน ชุมชนนักปฏิบัติ (Community  of  Practice  :  CoP)  ระบบพี่เลี้ยง  (mentoring  system) การสับ เปลี่ยนงาน  (job  rotation)  การจัดเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  (knowledge  forum)  การจัดทำเป็นหนังสือ คู่มือ เอกสาร  รายงาน วีดีโอ  ซีดี  สื่อดิจิทัลรูปแบบต่างๆ
เทคโนโลยีเว็บไซต์ (web-based technologies)  ได้พัฒนาขึ้นโดยลำดับ  ทั้งด้านความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล ความสามารถในการใช้ข้อมูลร่วมกัน  ผู้ใช้สามารถที่จะทำการเขียนบล็อค (blog)  และเป็นผู้ร่วมสร้างเนื้อหา รู้จักแนวคิดของ blog เพื่อที่จะนำมาพัฒนาการแบ่งปันความรู้ในองค์กรได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์
เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาเว็บไซต์มาใช้ในการจัดการความรู้  โดยนำเนื้อหา ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว  มัลติมีเดีย ความสามารถโต้ตอบ และการปฏิสัมพันธ์ (interactive) มาใช้ร่วมกัน เพื่อให้เกิดความน่าสนใจและกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้

ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ

1. เข้าสู่เว็บไซต์ Wix.com (https://www.wix.com/) ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการพื้นที่โดยไม่คิดค่า   บริการ กดที่ Login เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งานเว็บไซต์
2. เลือกใช้เทมเพลต creative arts/visual arts/ Artist Corner เป็นต้นแบบในการพัฒนา
3. กดที่ edit เพื่อทำการแก้ไขเทมเพลต
4. แก้ไข ดัดแปลง เทมเพลตส่วนประกอบต่างๆ เช่น พื้นหลัง (page background) ข้อความ (edit text)
รูปภาพ (manage media) เป็นต้น
5. ใช้คำสั่ง  Preview เพื่อทดสอบการนำเสนอ
6. แก้ไขโดยใช้คำสั่ง Back to Editor
7. บันทึกเว็บไซต์โดยใช้คำสั่ง Publish ชื่อ https://Interactive2019.wixsite.com/oaikm

 

เอกสารอ้างอิง

สุพิชชา ธีรอภิศักดิ์กุล. (2553). ปัจจัยที่นำไปสู่การใช้งานระบบการจัดการความรู้ กรณีศึกษาองค์กรพัฒนาซอฟต์แวร์       (การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี). วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

 

 

 

แนวคิดในการสร้างสรรค์หรือแก้ไขปรับปรุง

 

ผลการพัฒนาเว็บไซต์การจัดการความรู้แบบอินเทอร์แอคทีฟ (Interactive) ในครั้งนี้
ผู้พัฒนาได้ทำการคัดเลือกเทมเพลต (templates)  รูปแบบต่างๆ  พบว่า  เทมเพลต Artist Corner  เป็นเทมเพลตที่มีความเหมาะสมในการใช้เป็นต้นแบบ  เนื่องจากเทมเพลตดังกล่าวมีปฏิสัมพันธ์ (interactive)  กับผู้ใช้ ทั้งด้านเนื้อหา ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว  มัลติมีเดีย  ตอบสนองต่อการเคลื่อนที่ของเมาส์ (mouse)  สามารถเชื่อมโยง (link)  ไปยังบล็อกของหน่วยงานหรือองค์กร  และเชื่อมโยงไปยังแหล่งความรู้ดั้งเดิม (original knowledge) ได้อย่างสมบูรณ์

การนำ Idea Suggestion สู่การปฏิบัติ สามารถดำเนินการได้โดยบุคคลเดียว