Full Paper Access บริการช่วยการเข้าถึงเอกสารฉบับเต็มวิทยานิพนธ์และงานวิจัย หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้

ID 1107
รายละเอียด Idea Suggestion
มีผู้ใช้บริการสิ่งพิมพ์ประเภทวิทยานิพนธ์และงานวิจัยจำนวนมากที่เข้าถึงตัวเล่มจริงบนชั้น (ห้องวิทยานิพนธ์ ชั้น 3 หอสมุดจอห็น เอฟ เคนเนดี้) โดยไม่ผ่านการสืบค้น OPAC ก่อน นอกจากความล่าช้าในการค้นหาตัวเล่มบนชั้นแล้ว ยังเกิดความยุ่งยากในการเข้าถึงเอกสารฉบับเต็ม (Full Paper) ของสิ่งพิมพ์ชื่อเรื่องนั้น ๆ อีกด้วย เป็นต้นว่า หากต้องการดาวน์โหลดฉบับเต็มก็จะต้องกลับไปสืบค้นที่ OPAC อีกครั้ง หรือใช้วิธีถ่ายสำเนา เนื่องจากไม่ทราบว่ามีบริการให้ดาวน์โหลดด้วย ปัญหาเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาค้นคว้าของผู้ใช้บริการและทำให้การใช้งานสิ่งพิมพ์ประเภทวิทยานิพนธ์และงานวิจัยมีจำนวนน้อยลง
เพิ่มความสะดวกและรวดเร็นในการเข้าถึงเอกสารฉบับเต็ม (Full Paper) ของสิ่งพิมพ์ประเภทวิทยานิพนธ์และงานวิจัยในห้องวิทยานิพนธ์ให้กับผู้ใช้ โดยการพัฒนาระบบ “Full Paper Access” ที่ให้ผู้ใช้ทำการสแกนสัญลักษณ์ QR Code ที่ติดอยู่บนตัวเล่มแล้วจัดส่ง URL สำหรับดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มของชื่อเรื่องนั้น ๆ ไปยังอีเมลหรือ Social Network ที่ผู้ใช้ต้องการทันทีโดยไม่ต้องกลับไปสืบค้นที่ OPAC
ขั้นตอนการปฏบัติงาน
1. เมื่อมีวิจัยใหม่เข้ามา บรรณารักษ์จะทำการลงรายการตามปกติ (ลงรายการตัวเล่มเข้าสู่ ALIST และรายการดิจิทัลเข้าสู่ PSU KB)
2. จนท. จะนำวิจัยมาบันทึกข้อมูลลงฐานที่สร้างขึ้น (FPA) พร้อมสร้าง QR Code
3. จนท. จัดพิมพ์ QR code ติดไว้ที่ปกของวิจัยนั้นๆ แล้วนำวิจัยขึ้นชั้นเพื่อให้บริการ
4. ประชาสัมพันธ์การให้บริการแก่ผู้ใช้
ขั้นตอนการให้บริการ
1. นศ มาที่ห้องวิจัย หยิบงานวิจัยที่อยากโหลด full text ขึ้นมาส่อง QR code ด้วยมือถือ หน้าจอจะวิ่งไปทีระบบฐานข้อมูล FPA (หน้าแสดงรายละเอียดของวิจัยเรื่องนั้นๆ) ที่ภายในเก็บข้อมูลของ
วิจัยที่มี link full text
2. ที่หน้าของวิจัยเรื่องนั้นจะมีทางเลือกให้นศ ว่าจะส่ง link full text ไปที่ไหน (อีเมล/social network)
3. เลือกและคลิกปุ่ม จบการทำงาน
- เพิ่มช่องทางในการเข้าถึงเอกสารฉบับเต็มของวิทยานิพนธ์และงานวิจัยที่มีบริการอยู่ในห้องวิทยานิพนธ์ ชั้น 3 หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้
- ผู้ใช้อบริการสามารถเข้าถึงเอกสารฉบับเต็มของวิทยานิพนธ์และงานวิจัยด้วยความสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาในการยืม-ค้น หรือถ่ายสำเนาวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยที่ต้องการ
- วิทยานิพนธ์และงานวิจัยถูกใช้งานอย่างเต็มที่ ไม่จำกัดเพียงแค่เฉพาะคนในคนหนึ่ง
- เพิ่มความพึงพอใจของผู้ใช้บริการทั้งภายในและภายนอก
สอดรับในด้านการเป็นองค์กรบริการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ การนำเทคโนโลยีใหม่มาเพิ่มประสิทธิภาพ งานบริการทรัพยากรสารสนเทศ