อาเซียนสตูดิโอ (ASEAN Studio)

อาเซียนสตูดิโอ (ASEAN Studio)


Warning: imagepng(/home/httpd/vhost/innovation.oas.psu.ac.th/wp-content/uploads/2016/06/feature_img-670x300.png): failed to open stream: Permission denied in /home/httpd/vhost/innovation.oas.psu.ac.th/wp-includes/class-wp-image-editor.php on line 565
feature_img

ID 308

เสนอโดย ศลิษา เลี่ยมสุวรรณ
ตำแหน่ง บรรณารักษ์
ฝ่าย หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้
ปีงบประมาณ
วันที่เผยแพร่

รายละเอียด Idea Suggestion

สภาพปัจจุบัน/ปัญหาที่พบ

เนื่องจากปัจจุบันกระแสการรวมตัวกันของประชาคมอาเซียน  (ASEAN  Community) ที่ให้ความสำคัญกับการเป็นชุมชนที่มีความแข็งแกร่ง  การสร้างโอกาสและรับมือความท้าท้าย  ทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง  เศรษฐกิจ  และภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆ  โดยสมาชิกในชุมชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี  สามารถประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น  และสมาชิกในชุมชนมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยได้มีนโยบายต่างๆ ที่กระตุ้นให้ประชาชนเกิดการตื่นตัวในการเตรียมความพร้อมที่จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทางห้องสมุดในฐานะเป็นแหล่งสารสนเทศการเรียนรู้ได้ตระหนักถึงความสำคัญประเด็นดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากห้องสมุดถือได้ว่าเป็นแหล่งสารสนเทศที่สำคัญในการสนับสนุนการเรียนรู้ด้านต่างๆ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับอาเซียนด้วย จึงได้จัดให้มีมุมอาเซียนและกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านต่างๆ ขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาในส่วนของกิจกรรมการตอบคำถามอาเซียนได้รับการตอบรับจากผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง แต่หากสังเกตุในมุมที่จัดทรัพยากรเกี่ยวกับอาเซียน จะเห็นได้ว่ามีผู้ใช้บริการค่อนข้างน้อย จึงทำให้เกิดไอเดียในการส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ในมุมอาเซียนขึ้น โดยใช้ชื่อแนวคิดว่า “อาเซียนสตูดิโอ” (ASEAN  Studio)

แนวคิดในการสร้างสรรค์หรือแก้ไขปรับปรุง

แนวคิดชื่อ “อาเซียนสตูดิโอ” (ASEAN  Studio)

แนวคิด “อาเซียนสตูดิโอ” นั้น มีลักษณะเป็นการต่อยอดมุมอาเซียนเพิ่มเติมโดยจะสังเกตได้ว่าพฤติกรรมของวัยรุ่นในปัจจุบัน จะมีความชื่นชอบการถ่ายภาพแล้วแชร์ลงในโซเชียลเน็ตเวิร์ค ไม่ว่าจะเป็น facebook  instagram เพื่อบอกถึง life style ของตัวเองให้เพื่อนได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ดังนั้น จึงทำให้เกิดไอเดียว่าหากต้องการให้เกิดการใช้งานพื้นที่ในมุมอาเซียนให้มากขึ้น น่าจะมีสิ่งที่ดึงดูดใจให้ผู้ใช้เข้ามามีส่วนร่วมหรือปรับมุมให้มีความโดดเด่นขึ้น โดยคิดว่าหากมีการจำลองฉากสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในประเทศต่างๆ 10 ประเทศในกลุ่มอาเซียน และจัดเครื่องแต่งกายประจำชาติของประเทศในกลุ่มอาเซียนไว้คอยบริการแก่ผู้ใช้บริการได้สนุกกับการแต่งกายประจำชาติต่างๆ และถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึก หรือโพสผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค น่าจะเป็นการดึงดูดผู้ใช้บริการได้มากขึ้น

เป้าหมาย

  1. เพื่อดึงดูดให้เกิดการใช้งานในมุมอาเซียนให้มากขึ้น
  2. เพื่อส่งเสริมการเป็นแหล่งสารสนเทศที่สนับสนุนการให้ความรู้ด้านอาเซียน

งบประมาณ

  1. ค่าฉากตกแต่ง 10 ฉาก x300 บาท รวมเป็นเงิน   3,000 บาท
  2. ค่าชุดประจำชาติ 10 ประเทศ x500 บาท รวมเป็นเงิน   5,000 บาท

รวมเป็นเงิน 8,000 บาท

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการและความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมมุมอาเซียนมากขึ้น
  2. เกิดการใช้งานสารสนเทศในมุมอาเซียนมากขึ้น
การนำ Idea Suggestion สู่การปฏิบัติ สามารถดำเนินการได้โดยทำงานเป็นทีม