บริการช่วยการเข้าถึงฐานข้อมูลหนังสือสำรองโดยใช้ QR Code

บริการช่วยการเข้าถึงฐานข้อมูลหนังสือสำรองโดยใช้ QR Code

Screenshot 2023-04-26 203938

ID 1105

เสนอโดย กมลทิพย์ หลงหา
ตำแหน่ง บรรณารักษ์
ฝ่าย หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้
ปีงบประมาณ
วันที่เผยแพร่

รายละเอียด Idea Suggestion

สภาพปัจจุบัน/ปัญหาที่พบ

เนื่องจากหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศแก่ผู้ใช้บริการในหลากหลายประเภท หลากหลายรูปแบบ ทั้งในรูปแบบสิ่งพิมพ์และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้มีการใช้บริการที่สะดวกมากยิ่งขึ้น จึงได้มีการพัฒนาเพิ่มช่องทางการเข้าถึงการใช้งานทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ของหอสมุดฯ ให้มากขึ้น

หนังสือสำรองจัดเป็นทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนึ่งที่หอสมุดฯ ได้ให้บริการทั้งในรูปแบบสิ่งพิมพ์และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ จากเดิมที่ได้มีการรวมรวบหนังสือสำรองในรูปแบบสิ่งพิมพ์ที่อาจารย์แจ้งความประสงค์สำรองไว้เพื่อการเรียนการสอน โดยนำมาจัดให้บริการไว้ที่บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการและปริมาณการใช้งานของผู้ใช้บริการ ทางหอสมุดฯ จึงได้เพิ่มช่องทางการเข้าถึงหนังสือสำรองอีกช่องทางหนึ่ง โดยการนำหนังสือสำรองในรูปแบบสิ่งพิมพ์มาจัดทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

ทำการสแกนเนื้อหาทั้งเล่ม นำหนังสือที่สแกนเป็นไฟล์ PDF. มาประยุกต์ใช้งานร่วมกับ www.fliphtml5.com ในการสร้างระบบชั้นหนังสือสำรองออนไลน์ขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกหนังสือได้จากภาพหน้าปกของหนังสือและจัดเก็บไฟล์ฉบับเต็มไว้ในฐานข้อมูลหนังสือสำรองฉบับอิเล็กทรอนิกส์

รุปที่ 1 หน้าต่างระบบชั้นหนังสือสำรองออนไลน์

เมื่อผู้ใช้บริการต้องการใช้บริการหนังสือสำรอง สามารถเข้าใช้งานไฟล์ฉบับเต็มผ่าน IP address ของมหาวิทยาลัย โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ http://www.oas.psu.ac.th/reservebook/ ก็สามารถเข้าถึงไฟล์ฉบับเต็มของหนังสือสำรองได้

ในกรณีที่ผู้ใช้บริการเดินมาหาตัวเล่มที่ชั้นให้บริการ แต่ผู้ใช้บริการไม่ทราบว่าหนังสือเล่มนี้มีในฐานหนังสือสำรอง และสามารถอ่านฉบับออนไลน์ได้ ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นอุปสรรค์ในการใช้บริการฐานหนังสือสำรองออนไลน์

แนวคิดในการสร้างสรรค์หรือแก้ไขปรับปรุง

เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าใช้บริการระบบ Online Shelf หนังสือสำรองให้มากขึ้น และเพิ่มความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้บริการที่นิยมไปหาหนังสือที่ชั้นหนังสือโดยที่ไม่ผ่าน OPAC  ผู้ปฏิบัติงานจึงมีแนวคิดที่จะทำ QR Code  ของหนังสือสำรองแต่ละเล่ม นำ QR Code  มาติดที่ชั้น และตัวเล่มหนังสือ เมื่อผู้ใช้บริการทำการสแกนสัญลักษณ์ QR Code  ก็สามารถเข้าใช้บริการหนังสือสำรองเล่มนั้นในรูปแบบ E-book ได้ทันที

  1. การศึกษาและวางแผน

1.1 ศึกษาเครื่องมือในการจัดทำ QR Code  โดยใช้ QR Code  จากเว็บไซต์ https://www.the-qrcode-generator.com

 

1.2 จัดทำ  QR Code  จากเว็บไซต์ https://www.the-qrcode-generator.com

การสมัครเป็นสมาชิกเว็บไซต์นี้ ต้องใช้ g-mail ในการ Login เข้าใช้งาน

รูปที่ 2 หน้าจอการเข้าใช้ www.the-qrcode-generator.com

1.2.1 โดยเริ่มจากการทำ QR Code  ของตัวระบบหนังสือสำรองก่อน ต่อมาคัดลองลิงค์ฐานข้อมูลหนังสือสำรองออนไลน์ มาใส่ในช่อง  URL จากนั้นก็ทำการ กด SAVE  จากนั้นเลือกการเก็บ QR Code ไว้ในไฟล์ข้อมูลของผู้ปฏิบัติงาน

รุปที่ 3 หน้าต่างการใส่ URL. หนังสือสำรอง

1.2.2  จัดทำ QR Code  หนังสือสำรองแต่ละเล่ม โดยเรียงจากเล่มที่ 1 – 130

ภาพตัวอย่าง หนังสือเรื่องอยู่กับก๋ง ของ หยก บูรพา

รูปที่ 4 หน้าต่างการใส่ URL. หนังสือชื่อเรื่อง อยู่กับก๋ง

จากนั้นบันทึกข้อมูลลงใน folder ของผู้ปฏิบัติงาน ตามเลขที่ลำดับการอัพโหลดไฟล์ในฐานหนังสือสำรองออนไลน์ ลำดับที่ E0115

รูปที่ 5 โฟรเดอร์การดาว์นโหลดไฟล์ QR Code

1.2.3 ทำการสแกน QR Code   เพื่อทดสอบการเข้าใช้หนังสือสำรอง

รูปที่ 6 ทดสอบการอ่าน QR Code

1.2.4 เมื่อทำ QR Code  หนังสือสำรองครบจำนวน 130 เล่ม จัดการพิมพ์ QR Code  และนำ QR Code พร้อมรายชื่อหนังสือสำรอง ส่งต่อให้เจ้าหน้าที่จัดชั้นเพื่อนำ QR Code  ไปติดที่ชั้นวาง

หนังสือและตัวเล่มหนังสือเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ต่อไป

รูปที่ 7 ตัวอย่างรูปแบบการติด QR Code

เป้าหมาย

1.เพิ่มช่องทางสำหรับการเข้าถึงหนังสือสำรองฉบับอิเล็กทรอนิกส์ www.oas.psu.ac.th/reservebook/ (เพิ่มปริมานการเข้าใช้ฐานหนังสือสำรอง)

2.เพื่อพัฒนารูปแบบการให้บริการหนังสือที่มีความต้องการใช้มาก ให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลา

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าใช้บริการระบบ Online Shelf หนังสือสำรองให้มากขึ้น และเพิ่มความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้บริการที่นิยมไปหาตัวเล่มหนังสือที่ชั้นหนังสือโดยที่ไม่ผ่าน OPAC  ผู้ปฏิบัติงานจึงมีแนวคิดที่จะทำ QR Code  ของหนังสือสำรองแต่ละเล่ม โดยการนำ QR Code  มาติดที่ชั้นหนังสือ และตัวเล่มหนังสือ เมื่อผู้ใช้บริการทำการสแกนสัญลักษณ์ QR Code  ก็สามารถเข้าใช้บริการหนังสือสำรองเล่มนั้นในรูปแบบ E-book ได้ทันที

**กรณีที่ตัวเล่มหนังสือไม่อยู่ที่ชั้น ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการหนังสือสำรองออนไลน์ได้โดย ผ่าน QR Code ที่ติดให้บริการอยุ๋ที่ชั้นหนังสือได้ทันที

ความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์สำนักฯ

สอดรับในด้านการเป็นองค์กรบริการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริการสารสนเทศ

การนำ Idea Suggestion สู่การปฏิบัติ สามารถดำเนินการได้โดยบุคคลเดียว