การพัฒนารูปแบบการเข้าถึงบทความวารสารออนไลน์ด้วย QR Code

การพัฒนารูปแบบการเข้าถึงบทความวารสารออนไลน์ด้วย QR Code

Screenshot 2023-04-26 201139

ID 1558

เสนอโดย ศิริรัตน์ เมืองแมน
ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด
ฝ่าย หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้
ปีงบประมาณ
วันที่เผยแพร่

รายละเอียด Idea Suggestion

สภาพปัจจุบัน/ปัญหาที่พบ

หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ เป็นหอสมุดกลางของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  มีหน้าให้บริการสารสนเทศหลากหลายรูปแบบให้แก่ อาจารย์ นักศึกษา นักเรียน บุคลากร ตลอดผู้สนใจทั่วไป การให้บริการวารสารฉบับพิมพ์ เป็นอีกหนึ่งการให้บริการที่สำคัญของหอสมุด

การให้บริการวารสารฉบับพิมพ์ แบ่งเป็น  2 ประเภท คือ การให้บริการวารสารฉบับปัจจุบัน ซึ่งไม่สามารถยืมได้ เนื่องจาก มีผู้ใช้บริการต้องการจำนวนมาก จำเป็นต้องให้มีการหมุนเวียนใช้ในห้องสมุด หากต้องการใช้ผู้ใช้บริการจะต้องนำไปถ่ายเอกสารเท่านั้น  และ วารสารฉบับล่วงเวลา  ที่สามารถยืมได้เป็นเวลา 2 วัน

การให้บริการวารสารฉบับปัจจุบัน ที่ไม่สามารถยืมได้นั้น พบว่า ผู้ใช้บริการจะต้องนำตัวเล่มไปถ่ายเอกสาร ทำให้ไม่ได้รับความสะดวก และผู้ใช้บริการท่านอื่น หาตัวเล่มวารสารไม่พบ ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ ไม่ทราบว่า วารสารบางชื่อสามารถเข้าถึงบทความวารสารฉบับเต็มแบบออนไลน์ได้  ทำให้เกิดปัญหาในการให้บริการสารสนเทศที่ไม่ทั่วถึง และไม่เพียงพอ

แนวคิดในการสร้างสรรค์หรือแก้ไขปรับปรุง

จากปัญหาที่กล่าวไว้ข้างต้น ประกอบกับ ผู้พัฒนาได้เล็งเห็นว่า ในปัจจุบัน ผู้ผลิตวารสารวิชาการได้มีการพัฒนารูปแบบการเผยแพร่บทความวารสารให้เป็นฉบับออนไลน์มากขึ้น ทั้งจากฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ( TCI) หรือจากฐานข้อมูลหน่วยงานที่ผลิตวารสารเอง  ผู้พัฒนาจึงได้พัฒนารูปแบบการเข้าถึงบทความวารสารด้วย QR Code ขึ้น เพื่อเป็นการชี้ช่องทางในการเข้าถึงวารสารฉบับเต็มแบบออนไลน์ให้แก่ผู้ใช้บริการ ให้สามารถเข้าถึงบทความวารสารฉบับเต็มที่ต้องการได้ อย่างสะดวก รวดเร็ว สามารถบันทึกข้อมูลไปใช้ต่อได้ โดยไม่จำเป็นต้องนำวารสารฉบับพิมพ์ไปถ่ายเอกสาร ทำให้สามารถประหยัดเวลา

วิธีการเข้าถึง สามารถทำได้ง่าย เพียงใช้ Smart Phone ของผู้ใช้บริการ สแกน QR Code โดยผ่าน Application อ่าน QR Code reader หรือ Application LINE ก็จะสามารถเข้าถึงบทความฉบับออนไลน์ได้โดยง่าย

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

เป็นการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงการบริการวารสารวิชาการฉบับ Online ให้มากขึ้น ทั้งเพิ่มความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้บริการโดยไม่ต้องค้นหาโดยระบบ OPAC  เป็นการให้บริการเชิงรุกส่งเสริมการเข้าถึงวารสารออนไลน์ และเพิ่มประสิทธิภาพและคุณค่าในการทำงานของผู้ปฏิบัติให้เกิดเป็นนวัตกรรมในการปฏิบัติงาน

ความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์สำนักฯ

การพัฒนารูปแบบการให้บริการสารสนเทศที่ทันสมัยโดยนำเทคโนโลยีมาใช้

การนำ Idea Suggestion สู่การปฏิบัติ สามารถดำเนินการได้โดยทำงานเป็นทีม