OAR VR ระบบสำนักวิทยบริการเสมือนจริง

ID 2403
รายละเอียด Idea Suggestion
ในภาคการศึกษา 1/2564 หน่วยงานต่าง ๆ ของวิทยาเขตปัตตานีต้องปิดพื้นที่ให้บริการ รวมถึงสำนักวิทยบริการที่ได้รับผลกระทบโดยตรงต่อการให้บริการต่าง ๆ ดังนั้นรูปแบบการให้บริการที่เป็นแบบ Onsite ต้องถูกปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบ Online ทั้งหมด เพื่อรองรับความต้องการของนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัยและบุคคลทั่วไปในการเข้าถึงบริการ
จากปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดงานวิจัยเรื่อง OAR VR ระบบสำนักวิทยบริการเสมือนจริงที่จะรวบรวมบริการ ทรัพยากรสารสนเทศ การอบรม ช่องการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ และกิจกรรมต่าง ๆ มาให้บริการในรูปแบบดิจิทัลเสมือนจริงเพื่อให้ผู้ใช้บริการมีความรู้สึกเหมือนได้มาใช้บริการที่สำนักวิทยบริการในสถานที่จริง
การสร้างสภาพแวดล้อมเสมือนจริงภายในระบบนำชมเสมือนจริง
เป็นการใช้กล่องถ่ายภาพที่มีโหมดพาโนรามา เพื่อถ่ายออกมาเป็นภาพพาโนรามาประเภท Equirectangular ที่มีขนาดภาพที่ทำมุม 360 องศาแนวนอนและ 180 องศาในมุมมองแนวตั้ง บนอัตราส่วน 2:1 สิ่งที่จำเป็นต้องคำนึงถึงในการถ่ายภาพได้แก่ แสงของสถานที่, วัตถุที่เคลื่อนไหว รวมถึงการถ่ายติดบุคคล ภายหลังจากถ่ายภาพในสถานที่จริงแล้ว การตกแต่งรูปภาพ ปรับเพิ่มแสงในสถานที่ที่มีแสงน้อย หรือเบลอใบหน้า เพื่อทำให้ภาพสามารถถ่ายทอดสภาพแวดล้อมที่เสมือนสถานที่จริงมากที่สุด
การออกแบบและพัฒนาระบบ
สามารถทำได้โดยนำภาพพาโนรามาที่สมบูรณ์ของสถานที่ มาเชื่อมโยงกันผ่านโปรแกรมพัฒนาระบบนำชมเสมือนจริง โดยเป็นการเชื่อมโยงแต่ละภาพผ่านจุดฮอตสปอต (Hotspot) ที่ใช้แทนรูปแบบในการก้าวเดินตามทิศทางภายในภาพ และเชื่อมโยงการให้บริการผ่านลิงก์ (Link) และวิดีโอ (Video) เพื่อนำเสนอการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จัดเตรียมไว้ในขั้นตอนการวางแผนและสถานที่จริง
ภายหลังการปรับปรุงจนอย่างครบถ้วนแล้ว ดำเนินการเผยแพร่โดยการส่งออกไฟล์ของระบบทั้งหมดออกมาในรูปแบบของ HTML5 ที่เหมาะสำหรับการเผยแพร่บนเว็บไซต์ จากนั้นอัพโหลดไฟล์ขึ้นเซิร์ฟเวอร์ของสำนักวิทยบริการเพื่อการใช้งานจริง
ผลลัพธ์จากการพัฒนา
ระบบนำชมเสมือนจริงสำนักวิทยบริการเพื่อการให้บริการในยุคโควิด 19 สามารถเข้าใช้งานระบบนำชมเสมือนจริงสำนักวิทยบริการผ่านเว็บไซต์ https://vr.oas.psu.ac.th
1) ได้ระบบระบบนำชมเสมือนจริงสำนักวิทยบริการเพื่อการให้บริการในยุคโควิด 19 ที่มีประสิทธิภาพ
2) ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อระบบนำชมเสมือนจริงสำนักวิทยบริการเพื่อการให้บริการในยุคโควิด 19
3) ช่วยลดงบประมาณของมหาวิทยลัยได้หลายร้อยล้านบาทในการสร้างตึกใหม่หลายสิบชั้น โดยการสร้างตึกเสมือนจริงในโลกดิจิทัลทดแทนการสร้างตึกใหม่ โดยเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง (Metaverse) จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน และการจัดการเรียนการสอนในอนาคต ในยุคของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะประหยัดงบประมาณในการสร้างตึก ลดงบประมาณในการจ้างบุคลากร เปิดบริการได้ 24 ชั่วโมง และผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการได้จากทุกที่ทั่วโลก
4) สำนักวิทยบริการได้นำองค์ความรู้เรื่องเทคโนโลยีเสมือนจริงรับงานทั้งภายในและภายนอกซึ่งจะเป็นช่องทางสร้างรายได้ให้กับสำนักวิทยบริการและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
การพัฒนาปรับปรุงระบบสำนักวิทยบริการเสมือนจริงให้ขยายไปยังคณะและหน่วยงานต่าง ๆ ของวิทยาเขตปัตตานีในโครงการชื่อ PSU Virtual Learning Campus และจะขยายไปยังห้องสมุดของทั้ง 5 วิทยาเขต