Touch Screen : นวัตกรรมนำเสนอยุคการศึกษาไทย 4.0

Touch Screen : นวัตกรรมนำเสนอยุคการศึกษาไทย 4.0


Warning: imagepng(/home/httpd/vhost/innovation.oas.psu.ac.th/wp-content/uploads/2016/06/feature_img-670x300.png): failed to open stream: Permission denied in /home/httpd/vhost/innovation.oas.psu.ac.th/wp-includes/class-wp-image-editor.php on line 565
feature_img

ID 654

เสนอโดย อนุภาพ ด้วงนิ่ม, พรหม จันทาโพธิ์
ตำแหน่ง นักวิชาการอุดมศึกษา
ฝ่าย เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเรียนรู้
ปีงบประมาณ
วันที่เผยแพร่

รายละเอียด Idea Suggestion

สภาพปัจจุบัน/ปัญหาที่พบ

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีนโยบายจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุกหรือ Active Learning ในทุกรายวิชากอปรกับนโยบาย Thailand 4.0 ที่เน้นการเรียนการสอนให้นักศึกษาสามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่งบนโลกนี้ มาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมต่างๆ มาตอบสนองความต้องการของสังคม การศึกษาในยุคนี้จึงถูกเรียกว่า Education 4.0 หรือยุคการศึกษาไทย 4.0 ซึ่งเป็นการศึกษาเพื่อการสร้างนวัตกรรม เป็นการศึกษาเพื่อปวงชน เป็นการศึกษาเพื่อสังคมที่คนทีไ่ด้รับการศึกษานั้น ต้องหันมาช่วยเหลือสังคมอย่างจริงจัง และกว้างขวาง โดยไม่ใช่การศึกษาเพื่อวัตถุประสงค์ใด วัตถุประสงค์หนึ่งดังเช่นที่ผ่านมา และการจัดการศึกษาต้องบูรณาการทั้งศาสตร์ ศิลป์ ชีวิต และเทคโนโลยีเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน เพื่อสร้างคนที่สังคมต้องการได้ในทุกมิติ และมีรูปแบบการจัดการศึกษาที่หลากหลาย สอดคล้องและตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน โดยครูอาจจะไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป หรือถ้าจำเป็นต้องมีก็ต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทไปอย่างมาก

เทคโนโลยีด้านสื่อปฏิสัมพันธ์ (Interactive Media) ได้แก่ จอภาพแบบสัมผัสหรือ Touch Screen, Multi-Touch Table เป็นต้น ล้วนมีความสำคัญต่อการนำเสนอในยุคการศึกษาไทย 4.0 มากยิ่งขึ้น เนื่องจากคุณสมบัติที่ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อน มีความก้าวล้ำทันสมัย เหมาะสำหรับใช้ในการเรียนการสอนแบบเชิงรุก

 

 

แนวคิดในการสร้างสรรค์หรือแก้ไขปรับปรุง

ขั้นตอนการดำเนินงาน

  1. ขออนุญาตอาจารย์ประจำวิชา
  2. ออกแบบเนื้อหาปฏิสัมพันธ์
  3. พัฒนาและทดสอบเนื้อหาปฏิสัมพันธ์
  4. อาจารย์ประจำวิชาตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา
  5. นำนวัตกรรมมาใช้งานกับนักศึกษา
  6. ประเมินผลความพึงพอใจ
  7. สรุปผลการนำนวัตกรรมมาใช้งาน

 

เป้าหมาย

  1. วิชา 721 – 113 เคมีทั่วไป 2

 

งบประมาณ

  1. ค่าตอบแทนอาจารย์ประจำวิชา 2,000 บาท
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ตอบสนองนโยบายจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุกหรือ Active Learning ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  2. ความพึงพอใจของอาจารย์ประจำวิชาเพิ่มขึ้น
  3. ความพึงพอใจของนักศึกษาเพิ่มขึ้น
การนำ Idea Suggestion สู่การปฏิบัติ สามารถดำเนินการได้โดยทำงานเป็นทีม